วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

ปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ"

พุทธประวัติ

พุทธประวัติ 

www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html

สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก

สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก
คำว่า “สัทธิวิหาริก” กับ “อันเตวาสิก” นั้น ผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียน มาแล้วคงจะคุ้นเคยกับสองคำนี้มากกว่าคนทั่วๆ ไป แต่ก็ยังมีหลายท่านที่เข้าใจสับสนกันในระหว่างสองคำนี้ ในหนังสือ ‘พูดจาภาษาวัด’ โดยกรมการศาสนา ปี ๒๕๔๔ และหนังสือ ‘คำวัด’ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) รวมทั้ง ‘พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์’ โดย พระพรหมณ์คุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายของทั้งสองคำนี้ไว้ว่า 

ธุดงควัตร และ คำสมาทาน


ธุดงควัตร
ธุดงควัตร คือ ข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย 
ธุดงควัตรมี 13 ข้อแบ่งเป็น 3 หมวด คือ 

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อานิสงส์การสวดอภิธรรม 7 คัมภีร์

บทสวดพระอภิธรรม หรือสวดอภิธรรม 7 คำภีร์
ป่วยก็หาย สวด 7 ปีร่างกายไม่เน่า หมดบุญก็ไปสวรรค์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง
หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สิ้นเนื้อความในพระไตรปิฎกนับ10000หน้า
พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา( ธรรมแทนค่าน้ำนม)เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนา
เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล

บทสวดพระอภิธรรม หรือสวดอภิธรรม 7 คำภีร์

บทสวดพระอภิธรรม หรือสวดอภิธรรม 7 คำภีร์
๑.พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ

โปรดพุทธมารดา


โปรดพุทธมารดา - เสด็จดาวดึงส์

          ลำดับนั้น  สมเด็จพระบรมศาสดา  ทรงพุทธดำริว่า  “พุทธประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตกาล  เมื่อทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว  เสด็จจำพรรษา    ที่ใด”  ทรงพิจารณาด้วยอดีตตังสญาณก็เห็นแจ้งประจักษ์ว่า  “เสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์เทวพิภพ  แล้วตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง    ปกรณ์  ถวายในไตรมาส  เพื่อกระทำการสนองพระคุณพุทธมารดาอีกประการหนึ่ง   ความปรารถนาอันใดที่พระชนนีตั้งไว้แทบบาทมูลพระพุทธวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า  “ขอให้นางได้เป็นมารดาพระบรมครูเห็นปานดังพระพุทธองค์”  ความปรารถนาอันนั้นก็สำเร็จสมประสงค์และพระชนนีมีพระคุณแก่ตถาคตเป็นอันมาก  ยากที่จะได้ตอบสนองพระคุณพระมารดา   
ทรงจินตนาการดังนี้แล้วเสด็จลุกจากรัตนบัลลังก์  ขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวพิภพประทับนั่งเหนือกัมพลศิลาอาสน์  ภายใต้ปาริฉัตตรุกขชาติ   อันเป็นธงแห่งดาวดึงส์เทวโลก

แสดงพระอภิธรรมปิฎก

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็น
ซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้ มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

ที่มา www.learntripitaka.com

อาสาฬหบูชา - ประวัติความเป็นมา

อาสาฬหบูชา - ประวัติความเป็นมา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
"อาสาฬห"เป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า อาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ

๑. อุคฆฏิตัญญู
ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู
ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ
ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ
ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันอาสาฬหนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
1.
เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2.
เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3.
เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4.
เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ

ที่มา www.learntripitaka.com

อานิสงส์ถวายสัพพทาน


อานิสงส์ถวายสัพพทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ

๑. ให้ของที่สะอาด 
๒. ให้ของประณีต  
๓. ให้ถูกกาล  
๔. ให้ของที่สมควร  
๕. เลือกให้ 
๖. ให้เสมอ ๆ  
๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส  
๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ 

สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา

ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย

อานิสงส์บวช

บวชนี้ย่อมมีผลานิสงส์อย่างมากมาย องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาอานิสงส์แห่งการ
บรรพชาอุปสมบทไว้โดยอเนกประการว่า ทาสสฺส อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลใดมีศรัทธาบรรพชา
ทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัล์ป บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี มีอานิสงส์
๘ กัล์ป และถ้าอุปสมบทจะได้รับอานิสงส์ ๑๖ กัล์ป หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัล์ป


ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัล์ป บุคคลใดได้
บรรพชาบุตรตนก็ดี บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ
แล้วพระองค์ตรัสอีกว่าดูกรอานนท ์ดังจะเห็นได้จากหญิงผู้หนึ่ง เขามีบุตรอยู่คนเดียว บุตรชายเขาขอไปบวชมารดาก็ไม่ให้บวชบุตรชายจึงหนีไปบวช อยู่มาวันหนึ่งมารดาของสามเณรนั้นออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อจักแสวงหาฟืน ครั้นมารดาสามเณรหาฟืน