วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โปรดพุทธมารดา


โปรดพุทธมารดา - เสด็จดาวดึงส์

          ลำดับนั้น  สมเด็จพระบรมศาสดา  ทรงพุทธดำริว่า  “พุทธประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตกาล  เมื่อทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว  เสด็จจำพรรษา    ที่ใด”  ทรงพิจารณาด้วยอดีตตังสญาณก็เห็นแจ้งประจักษ์ว่า  “เสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์เทวพิภพ  แล้วตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง    ปกรณ์  ถวายในไตรมาส  เพื่อกระทำการสนองพระคุณพุทธมารดาอีกประการหนึ่ง   ความปรารถนาอันใดที่พระชนนีตั้งไว้แทบบาทมูลพระพุทธวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า  “ขอให้นางได้เป็นมารดาพระบรมครูเห็นปานดังพระพุทธองค์”  ความปรารถนาอันนั้นก็สำเร็จสมประสงค์และพระชนนีมีพระคุณแก่ตถาคตเป็นอันมาก  ยากที่จะได้ตอบสนองพระคุณพระมารดา   
ทรงจินตนาการดังนี้แล้วเสด็จลุกจากรัตนบัลลังก์  ขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวพิภพประทับนั่งเหนือกัมพลศิลาอาสน์  ภายใต้ปาริฉัตตรุกขชาติ   อันเป็นธงแห่งดาวดึงส์เทวโลก

แสดงพระอภิธรรมปิฎก

          ในกาลนั้น  ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช  เมื่อทอดพระเนตรเห็น จึงประกาศใช้เหล่าทวยเทพได้ทราบทั่วกัน  เทพเจ้าทั้งหลายตลอดหมื่นจักรวาลถือทิพยมาลาสักการะมาสโมสรสันนิบาต  ถวายนมัสการแล้วประทับนั่งอยู่โดยรอบพระพุทธองค์  เมื่อไม่ทรงเห็นพุทธมารดา  จึงตรัสถามท้าวสักกรินทร์เทวราช  ท้าวสักกรินทร์เทวราชจึงเสด็จไปตามพระสิริมหามายาเทวบุตร    ดุสิตพิภพ  พระพุทธมารดา ได้สดับทรงประปีติปราโมทย์  เสด็จมายังดาวดึงส์เทวพิภพสู่สำนักพระบรมครู  ถวายนมัสการประทับนั่งอยู่เบื้องขวาแห่งพระผู้มีพระภาค  พลางดำริว่า  อาตมานี้มีบุญยิ่งนัก  มีเสียทีที่อาตมาอุ้มท้องมา  ได้พระโอรสอันประเสริฐเห็นปานนี้”  ส่วนสมเด็จพระชินสีห์มีพระทัยปรารถนาจะสนองคุณพระมารดาจึงดำริว่า  “พระคุณแห่งมารดาที่ทำไว้แก่ตถาคตนี้ยิ่งใหญ่นัก  สุดที่จะคณานับ ได้ว่ากว้างหนาและลึกซึ้งปานใด และธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณได้  พระวินัยปิฎก  และพระสุตตันตปิฎกก็ยังน้อยนัก  มิเท่าคุณแห่งพระมารดา  เห็นควรแต่พระอภิธรรมปิฎกที่จะพอยกขึ้นชั่งเท่ากันได้”  ดำริดังนี้แล้ว  กวักพระหัตถ์เรียกพระพุทธมารดาว่า  “ดูกรชนนี  มานี้เถิดตถาคตจะใช้ค่าน้ำนมข้าวป้อนของมารดา  อันเลี้ยงตถาคตนี้มาแต่อเนกชาติในอดีตภพ”  แล้วกระทำพุทธมารดาเป็นประธาน  ตรัสอภิธรรมปิฎก ๗  คัมภีร์  ให้สมควรแก่ปัญญาบารมี มี
1.   สังคณี 
2.   วิภังค์ 
3.   ธาตุกถา 
4.   ปุคคลบัญญัติ 
5.   กถาวัตถุ 
6.   ยมก  และ
7.   มหาปัฏฐาน  
กาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรมเทศนาจบลง  องค์พระสิริมหามายาเทวบุตรพุทธมารดา  ก็บรรลุโสดาปัตติผล  ประกอบด้วยนัย  ๑  พันบริบูรณ์
หมายเหตุ
ชาวไทยนิยมเรียกอภิธรรมปิฎก (อภิธัมมปิฎก)ว่า อภิธรรม ๗ คัมภีร์ ก็เพราะอภิธัมมปิฎกแยกเป็นหัวข้อสำคัญ ๗ ข้อ คือ :-
         ๑. ธัมมสังคณี ว่าด้วยการ " รวมกลุ่มธรรมะ " คือจัดระเบียบธรรมะต่าง ๆ ที่กระจายกันอยู่มากมายมาไว้ในหัวข้อสั้น ๆ เทียบด้วยการนำเครื่องประกอบต่าง ๆ ของนาฬิกามาคุมกันเข้าเป็นนาฬิกาทั้งเรือน
         ๒. วิภังค์ ว่าด้วยการ " แยกกลุ่ม " คือกระจายออกไปจากกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ เห็นรายละเอียด เช่น ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง แต่ละข้อนั้นแยกออกไปอย่างไรได้อีก เทียบด้วยการถอดส่วนประกอบของนาฬิกา ออกมาจากที่รวมกันอยู่เดิม
         ๓. ธาตุกถา ว่าด้วย " ธาตุ " คือสิ่งที่เป็นต้นเดิมในทางธรรม ( โปรด เข้าใจว่า เป็นคนละอย่างกับธาตุทางวิทยาศาสตร์ เพราะทางธรรมมุ่งคติสอนใจ สิ่งที่เป็นต้นเดิมทางธรรม จึงมีความหมายตาม คติธรรม )
         ๔. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วย " การบัญญัติบุคคล " โดยกล่าวถึงคุณธรรมสูง ต่ำของบุคคล เช่น คำว่า " สมยวิมุตฺโต " " ผู้พ้นเป็นคราว ๆ " คือบางคราวก็ละกิเลสได้ บางคราวก็ละไม่ได้ " อสมย- วิมุตฺโต " " ผู้พ้นตลอดไปไม่ขึ้นอยู่กับคราวสมัย " ได้แก่ผู้ละกิเลสได้เด็ดขาด เป็นต้น
         ๕. กถาวัตถุ ว่าด้วย " เรื่องของถ้อยคำ " คือการตั้งคำถามคำตอบ เพื่อชี้ให้ เห็นหลักธรรมที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนา
         ๖. ยมก ว่าด้วย " ธรรมะที่เป็นคู่ " คือการจัดธรรมะเป็นคู่ ๆ โดยอาศัยหลัก การต่าง ๆ
         ๗. ปัฏฐาน ว่าด้วย " ที่ตั้ง คือปัจจัย ๒๔ " แสดงว่าอะไรเป็นปัจจัยของ อะไรในทางธรรม